PVD คืออะไร?
Physical Vapor Deposition (PVD) เป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับเพิ่มสมบัติที่ดีให้แก่เครื่องมือ เช่น เพิ่มอายุการใช้งานเครื่องมือ ลดความเสียดทาน ความต้านทานการสึกหรอ ฯลฯ การเคลือบผิวแบบ PVD มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในระดับอุตสาหกรรมโดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมแม่พิมพ์
พื้นฐานเกี่ยวกับการเคลือบ
การเคลือบผิวแบบ PVD คือชั้นฟิล์มบางและแข็ง (หน่วยไมโครมิเตอร์) ชั้นการยึดเกาะของสารประกอบทางเคมีที่เรานำไปใช้กับชิ้นงาน
- เพิ่มอายุการใช้งาน / ต้านทานการสึกเหรอ
ด้วยค่าความแข็งที่สูงค่าสัมประสิทธิ์การเสียดทานที่ต่ำจะช่วยให้ผิวของวัสดุที่ใช้งานได้รับผลกระทบน้อยลงซึ่งจะทำให้การสึกเหรอเกิดช้าขึ้น
- เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
สารเคลือบบางชนิดสามารถที่จะทำให้ความเร็วในการทำงานดีขึ้น หรือช่วงเวลาที่จะต้องทำการซ่อมบำรุงให้ยืดไปได้
- ลดค่าใช้จ่าย
เมื่อการสึกเหรอลดลง อายุการใช้งานเครื่องมือมีนานขึ้น ก็จะช่วยลดปริมาณในการที่จะซื้อเครื่องมือมาได้
ตารางต่อไปนี้แสดงการเปรียบเทียบลักษณะพิเศษทางเทคนิคที่แตกต่างกันของการเคลือบทั้ง 6 ชนิด
TiNa-A | GolA | GiaN | TiNa-C | TiNa-AT | CroM | |
---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนผสมทางเคมี | TiAlN/TiN | TiN | AlCrN | TiCN | TiAlN/TiN | CrN |
ค่าความแข็ง (HV) | 3700 | 2700 | 3700 | 3000 | 4000 | 2250 |
ความหนามาตรฐาน (μm) | 2.0-4.0 | 2.5-4.0 | 3.0-5.0 | 3.0-6.0 | 6.0-16.0 | 6.0-18.0 |
อุณหภูมิทำงานสูงสุด (℃) | 900 | 600 | 1,037 | 400 | 900 | 600 |
สีสารเคลือบ |